วันเสาร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เรื่อง วิกิพีเดีย สารานุกรมออนไลน์



       วิกิพีเดีย (อังกฤษ: Wikipedia) เป็นสารานุกรมเนื้อหาเสรีหลายภาษาบนเว็บไซต์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิวิกิมีเดีย องค์กรไม่แสวงผลกำไร เนื้อหากว่า 26 ล้านบทความ (เฉพาะวิกิพีเดียภาษาอังกฤษมี เนื้อหากว่า 4.2 ล้านบทความ) เกิดขึ้นจากการร่วมเขียนของอาสาสมัครทั่วโลก ทุกคนที่สามารถเข้าถึงวิกิพีเดียสามารถร่วมแก้ไขได้แทบทุกบทความได้อย่าง เสรี โดยมีผู้เขียนประจำราว 100,000 คน[1] จนถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2556 วิกิพีเดียมี 286 รุ่นภาษา และได้กลายมาเป็นงานอ้างอิงทั่วไปที่ใหญ่ที่สุดและได้รับความนิยมมากที่สุดบนอินเทอร์เน็ต[2][3] จนถูกจัดเป็นเว็บที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดในโลกอันดับที่ 6 ตามการจัดอันดับของอเล็กซา ด้วยจำนวนผู้อ่านกว่า 365 ล้านคน[2][4] มีการประเมินว่าวิกิพีเดียมีการเรียกดูหน้าถึง 2,700 ล้านครั้งต่อเดือนในสหรัฐอเมริกาประเทศเดียว[5]
วิกิพีเดียเปิดตัวในปี พ.ศ. 2544 โดย จิมมี เวลส์และแลร์รี แซงเจอร์[6] คำว่า "วิกิพีเดีย" เป็นคำที่ประดิษฐ์ขึ้นโดยแลร์รี แซงเจอร์ มาจากการผสมคำว่า "วิกิ" (wiki) ซึ่งเป็นลักษณะของการสร้างเว็บไซต์ที่แบบมีส่วนร่วม เป็นคำในภาษาฮาวายที่แปลว่า "เร็ว" และคำว่า "เอนไซโคลพีเดีย" (encyclopedia) ที่แปลว่าสารานุกรม
มีการกล่าวถึงวิกิพีเดียอยู่บ่อยครั้ง ในแง่ความแตกต่างกับรูปแบบการจัดทำสารานุกรมแบบเก่าที่มีเฉพาะผู้เชี่ยวชาญ เป็นผู้จัดทำขึ้น และการรวบรวมเนื้อหาที่ไม่เป็นวิชาการไว้เป็นจำนวนมาก ครั้งเมื่อนิตยสารไทม์จัดให้ "คุณ" (You) เป็นบุคคลแห่งปี พ.ศ. 2549 อันเป็นการยอมรับความสำเร็จที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจากความร่วมมือและปฏิ สัมพันธ์ออนไลน์ของผู้ใช้หลายล้านคนทั่วโลก ก็ได้อ้างถึงวิกิพีเดียว่าเป็นตัวอย่างหนึ่งของบริการเว็บ 2.0 เช่นเดียวกับยูทูบ มายสเปซ และเฟซบุ๊ก[7] บางคนลงความเห็นว่าวิกิพีเดียมิได้มีความสำคัญเป็นเพียงสารานุกรมอ้างอิง เท่านั้น แต่ยังเป็นแหล่งข่าวที่อัปเดตอย่างรวดเร็วอีกด้วย เพราะมักพบเหตุการณ์ปัจจุบันถูกสร้างเป็นบทความในวิกิพีเดียอย่างรวดเร็ว[8][9] นักเรียนนักศึกษายังได้รับคำสั่งให้เขียนบทความวิกิพีเดียเพื่อฝึกอธิบายแนว คิดที่เข้าใจยากให้ผู้อ่านที่ไม่เคยศึกษามาก่อนเข้าใจได้ชัดเจนและรัดกุม[10]
แม้ว่าวิกิพีเดียจะมีนโยบายอย่างการพิสูจน์ยืนยันได้ของข้อมูลและมุมมองที่เป็นกลาง แต่ก็ยังถูกวิพากษ์วิจารณ์อยู่เสมอ ทั้งในด้านความลำเอียงอย่างเป็นระบบและความไม่สอดคล้องกันของบทความ อีกทั้งการให้น้ำหนักแก่วัฒนธรรมสมัยนิยมมากเกินไปจนไม่เหมาะสม[11] และระบุว่า วิกิพีเดียมักใช้กระบวนการมติเอกฉันท์ในการปรับปรุง[12] ความน่าเชื่อถือและความถูกต้องของข้อมูลก็ตกเป็นเป้าวิพากษ์วิจารณ์อย่างต่อเนื่อง[13] นอกจากนี้ การวิจารณ์อื่นยังมุ่งประเด็นไปยังการก่อกวนและการเพิ่มข้อมูลที่หลอกลวงหรือไม่สามารถพิสูจน์ได้[14] ถึงกระนั้นก็ตาม ผลงานวิชาการเสนอว่าการก่อกวนในวิกิพีเดียเกิดขึ้นในเวลาสั้น ๆ เท่านั้น[15][16] และจากการวิจัยของวารสารเนเจอร์ในปี พ.ศ. 2548 พบว่า บทความวิทยาศาสตร์จากวิกิพีเดียที่นำมาเปรียบเทียบนั้นมีระดับความถูกต้อง ใกล้เคียงกับสารานุกรมบริตานิกา และทั้งสองมีอัตรา "ข้อผิดพลาดร้ายแรง" ใกล้เคียงกัน[17]
วิกิพีเดียทำงานด้วยซอฟต์แวร์ชื่อมีเดียวิกิ และจัดเก็บในเซิร์ฟเวอร์สามแห่งทั่วโลก โดยมีเซิร์ฟเวอร์ใหญ่อยู่ที่รัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา และเซิร์ฟเวอร์ย่อยตั้งอยู่ที่อัมสเตอร์ดัม เนเธอร์แลนด์ และโซล เกาหลีใต้ ในขณะที่มูลนิธิสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย[18]


วิกิพีเดีย (อังกฤษ: Wikipedia) เป็นสารานุกรมเนื้อหาเสรีหลายภาษาบนเว็บไซต์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิวิกิมีเดีย องค์กรไม่แสวงผลกำไร เนื้อหากว่า 26 ล้านบทความ (เฉพาะวิกิพีเดียภาษาอังกฤษมี เนื้อหากว่า 4.2 ล้านบทความ) เกิดขึ้นจากการร่วมเขียนของอาสาสมัครทั่วโลก ทุกคนที่สามารถเข้าถึงวิกิพีเดียสามารถร่วมแก้ไขได้แทบทุกบทความได้อย่าง เสรี โดยมีผู้เขียนประจำราว 100,000 คน[1] จนถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2556 วิกิพีเดียมี 286 รุ่นภาษา และได้กลายมาเป็นงานอ้างอิงทั่วไปที่ใหญ่ที่สุดและได้รับความนิยมมากที่สุดบนอินเทอร์เน็ต[2][3] จนถูกจัดเป็นเว็บที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดในโลกอันดับที่ 6 ตามการจัดอันดับของอเล็กซา ด้วยจำนวนผู้อ่านกว่า 365 ล้านคน[2][4] มีการประเมินว่าวิกิพีเดียมีการเรียกดูหน้าถึง 2,700 ล้านครั้งต่อเดือนในสหรัฐอเมริกาประเทศเดียว[5]
วิกิพีเดียเปิดตัวในปี พ.ศ. 2544 โดย จิมมี เวลส์และแลร์รี แซงเจอร์[6] คำว่า "วิกิพีเดีย" เป็นคำที่ประดิษฐ์ขึ้นโดยแลร์รี แซงเจอร์ มาจากการผสมคำว่า "วิกิ" (wiki) ซึ่งเป็นลักษณะของการสร้างเว็บไซต์ที่แบบมีส่วนร่วม เป็นคำในภาษาฮาวายที่แปลว่า "เร็ว" และคำว่า "เอนไซโคลพีเดีย" (encyclopedia) ที่แปลว่าสารานุกรม
มีการกล่าวถึงวิกิพีเดียอยู่บ่อยครั้ง ในแง่ความแตกต่างกับรูปแบบการจัดทำสารานุกรมแบบเก่าที่มีเฉพาะผู้เชี่ยวชาญ เป็นผู้จัดทำขึ้น และการรวบรวมเนื้อหาที่ไม่เป็นวิชาการไว้เป็นจำนวนมาก ครั้งเมื่อนิตยสารไทม์จัดให้ "คุณ" (You) เป็นบุคคลแห่งปี พ.ศ. 2549 อันเป็นการยอมรับความสำเร็จที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจากความร่วมมือและปฏิ สัมพันธ์ออนไลน์ของผู้ใช้หลายล้านคนทั่วโลก ก็ได้อ้างถึงวิกิพีเดียว่าเป็นตัวอย่างหนึ่งของบริการเว็บ 2.0 เช่นเดียวกับยูทูบ มายสเปซ และเฟซบุ๊ก[7] บางคนลงความเห็นว่าวิกิพีเดียมิได้มีความสำคัญเป็นเพียงสารานุกรมอ้างอิง เท่านั้น แต่ยังเป็นแหล่งข่าวที่อัปเดตอย่างรวดเร็วอีกด้วย เพราะมักพบเหตุการณ์ปัจจุบันถูกสร้างเป็นบทความในวิกิพีเดียอย่างรวดเร็ว[8][9] นักเรียนนักศึกษายังได้รับคำสั่งให้เขียนบทความวิกิพีเดียเพื่อฝึกอธิบายแนว คิดที่เข้าใจยากให้ผู้อ่านที่ไม่เคยศึกษามาก่อนเข้าใจได้ชัดเจนและรัดกุม[10]
แม้ว่าวิกิพีเดียจะมีนโยบายอย่างการพิสูจน์ยืนยันได้ของข้อมูลและมุมมองที่เป็นกลาง แต่ก็ยังถูกวิพากษ์วิจารณ์อยู่เสมอ ทั้งในด้านความลำเอียงอย่างเป็นระบบและความไม่สอดคล้องกันของบทความ อีกทั้งการให้น้ำหนักแก่วัฒนธรรมสมัยนิยมมากเกินไปจนไม่เหมาะสม[11] และระบุว่า วิกิพีเดียมักใช้กระบวนการมติเอกฉันท์ในการปรับปรุง[12] ความน่าเชื่อถือและความถูกต้องของข้อมูลก็ตกเป็นเป้าวิพากษ์วิจารณ์อย่างต่อเนื่อง[13] นอกจากนี้ การวิจารณ์อื่นยังมุ่งประเด็นไปยังการก่อกวนและการเพิ่มข้อมูลที่หลอกลวงหรือไม่สามารถพิสูจน์ได้[14] ถึงกระนั้นก็ตาม ผลงานวิชาการเสนอว่าการก่อกวนในวิกิพีเดียเกิดขึ้นในเวลาสั้น ๆ เท่านั้น[15][16] และจากการวิจัยของวารสารเนเจอร์ในปี พ.ศ. 2548 พบว่า บทความวิทยาศาสตร์จากวิกิพีเดียที่นำมาเปรียบเทียบนั้นมีระดับความถูกต้อง ใกล้เคียงกับสารานุกรมบริตานิกา และทั้งสองมีอัตรา "ข้อผิดพลาดร้ายแรง" ใกล้เคียงกัน[17]
วิกิพีเดียทำงานด้วยซอฟต์แวร์ชื่อมีเดียวิกิ และจัดเก็บในเซิร์ฟเวอร์สามแห่งทั่วโลก โดยมีเซิร์ฟเวอร์ใหญ่อยู่ที่รัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา และเซิร์ฟเวอร์ย่อยตั้งอยู่ที่อัมสเตอร์ดัม เนเธอร์แลนด์ และโซล เกาหลีใต้ ในขณะที่มูลนิธิสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย[18]
วิกิพีเดีย

                  กด แก้ไข เพื่อแก้ไขบทความ
วิกิพีเดียเป็นสารานุกรมเสรี ซึ่งผู้ที่ใช้วิกิพีเดียร่วมกันเขียน วิกิพีเดียเป็นเว็บไซต์พิเศษที่ออกแบบมาให้การร่วมมือเป็นไปโดยง่าย ที่เรียกว่า วิกิ คนจำนวนมากพัฒนาวิกิพีเดียสม่ำเสมอ การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดถูกบันทึกไว้ในประวัติหน้าและหน้าปรับปรุงล่าสุด สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการ ดูที่ เกี่ยวกับวิกิพีเดีย


วิกิพีเดียประเทศไทย

ประเทศไทย หรือชื่อทางการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่บนคาบสมุทรอินโดจีนและมลายู ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนด้านตะวันออกติดประเทศลาวและประเทศกัมพูชา ทิศใต้เป็นแดนต่อแดนประเทศมาเลเซียและอ่าวไทย ทิศตะวันตกติดทะเลอันดามันและประเทศพม่า และทิศเหนือติดประเทศพม่าและลาว มีแม่น้ำโขงกั้นเป็นบางช่วง ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบมีรัฐสภา มีศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินอยู่ที่กรุงเทพมหานคร และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด[ก] ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร[7] และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน[8] กับทั้งยังเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่[9][10][11][12] โดยมีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและการบริการ[13] ไทยมีแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงเป็นอันมาก อาทิ พัทยา, ภูเก็ต, กรุงเทพมหานคร และเชียงใหม่ ซึ่งสร้างรายได้ให้แก่ประเทศ เช่นเดียวกับการส่งออกอันมีส่วนสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ[14] และด้วยจีดีพีของประเทศ ซึ่งมีมูลค่าราว 334,026 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามที่ประมาณใน พ.ศ. 2553 เศรษฐกิจของประเทศไทยนับว่าใหญ่เป็นอันดับที่ 30 ของโลก
ในอาณาเขตประเทศไทย พบหลักฐานของมนุษย์ซึ่งมีอายุเก่าแก่ที่สุดถึงห้าแสนปี[15] นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งต่อมาตกอยู่ในอิทธิพลของอาณาจักรอยุธยา อันมีความยิ่งใหญ่กว่า และมีการติดต่อกับชาติตะวันตก อาณาจักรอยุธยามีอายุยืนยาว 417 ปีก็เสื่อมอำนาจและล่มสลายไปโดยสิ้นเชิง สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงกอบกู้เอกราชและสถาปนาอาณาจักรธนบุรี เหตุการณ์ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักร นำไปสู่ยุคสมัยของราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ช่วงต้นกรุง ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาหลายฉบับ และการเสียดินแดนบางส่วน กระนั้น ไทยก็ยังธำรงตนมิได้เป็นอาณานิคมของชาติใด ๆ ต่อมาจนช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ไทยได้เข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร และในปี พ.ศ. 2475 ได้มีการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นประชาธิปไตย และไทยได้เข้ากับฝ่ายอักษะในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง จนช่วงสงครามเย็น ไทยได้ดำเนินนโยบายเป็นพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกา ทหารเข้ามามีบทบาทในการเมืองไทยอย่างมากหลังปฏิวัติสยามอยู่หลายสิบปี กระทั่งมีการตั้งรัฐบาลพลเรือน และเข้าสู่ยุคโลกเสรีในปัจจุบัน


























































































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น