วันเสาร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เรื่อง จับจองพื้นที่ส่วนตัวบนเน็ตด้วย Google Blogger

บล็อก (BLOG)  คืออะไร
           บล็อกมาจากการผสมคำ ระหว่าง  WEB ( Wolrd Wide Web) +LOG (บันทึก)  = BLOG  คือ เว็บไซต์ที่เจ้าของ หรือ Blogger สามารถบันทึกเรื่องราวของตนเองลงในเว็บได้ตลอดเวลา  การสร้างเว็บบล็อกสามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยตัวเอง ไม่ซับซ้อน ไม่เสียสตางค์ ไม่จำเป็นต้องรู้ภาษา HTML อย่างน้อยขอให้มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตและเว็บไซต์
ภาย ในเว็บบล็อก จะมีระบบบริหารจัดการเว็บไซต์พื้นฐานให้แล้ว โดยการสร้างเครื่องมือสำหรับ เขียนเรื่อง โพสรูป จัดหมวดหมู่ และลูกเล่นอื่นๆ ที่ผู้จัดทำพยายามสร้างเพื่อดึงดูดผู้คนจากทั่วโลก ให้เข้าไปใช้บริการ เสน่ห์ของบล็อกอยู่ที่ผู้อ่านและผู้เขียนสามารถโต้ตอบกันได้ (Interactive) โดยการแสดงความคิดเห็นต่อท้ายที่เรื่องนั้นๆ
บางคนมองว่าการเขียน บล็อก ก็คือการเขียนไดอารี่ออนไลน์ แท้ที่จริง ไดอารี่ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของบล็อกเท่านั้น คุณเปิดบล็อกขึ้นมาไม่ใช่เพื่อเขียนเรื่องราวในชีวิตประจำวันอย่างเดียว แต่สามารถใส่ความรู้ ประสบการณ์ เพื่อเป็นวิทยาทานให้คนอื่นๆ เช่น คุณหมอ เปิดบล็อกแนะนำเรื่องสุขภาพ เป็นต้น
บล็อก คือ สื่อใหม่ (New Media) เป็นปรากฎการณ์ที่เปลี่ยนรูปแบบการสื่อสารในอดีตอย่างสิ้นเชิง คนเขียนบล็อก สามารถทำหน้าที่เป็นสื่อด้วยตัวเอง ไม่ต้องพึ่งสื่อสารมวลชน เขาสามารถสื่อสารกันเองในกลุ่มเล็กๆ หรือกลุ่มใหญ่ก็ได้ ถ้าเรื่องไหน เป็นที่ถูกใจ ของชาวบล็อก ชาวเน็ต คนๆ นั้น อาจจะดังได้เพียงชั่วข้ามคืน โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยสื่อหลักช่วยเลย

ลักษณะของสื่อใหม่
  • กลุ่มผู้รับสารจะมีขนาดเล็ก
  • มีลักษณะเป็น Interactive
  • ผู้ส่งสาอาจไม่จำเป็นต้องสนใจเรื่องรายได้ มีแรงจูงใจด้านอื่น เช่น ความมีชื่อเสียง, ความชอบส่วนตัว
  • เป็นการสื่อสารแบบเปิด ผู้รับ ผู้ส่ง มีความเท่าเทียมกัน
  • เกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ หลากหลาย      

      
    ขั้นตอนการสร้าง Blogger
    ขั้นที่ 1   การสมัครใช้งาน Blogger สามารถใช้ email ของระบบใดก็ได้ แต่ในระยะยาวแล้วการเชื่อมโยงกับบริการหลายๆอย่างของ google ควรจะใช้ email ของ Gmail ดีที่สุดครับ
    ดัง นั้นในขั้นแรกนี้ให้คุณเข้าไปที่ www.gmial.com เพื่อสร้างบัญชีผู้ใช้กับ google
    สอนสร้าง 
Blogspot

    ขั้นที่ 2   หลังจากได้บัญชีผู้ใช้แล้ว ให้ไปที่ www.blogger.com เพื่อสร้างบล็อกกันเลยครับ
    โดยในการสร้างบล็อกนั้น ก็ให้ใช้ บัญชีผู้ใช้ (user name + password) ที่ได้สร้างไว้ในขั้นที่ 1
    เริ่มต้นทำบล็อก

    ขั้นที่ 3  ในขั้นต่อมาให้กรอก emailที่ได้จากขั้นที่ 1  ชื่อผู้เขียนบล็อก วันเกิด และยอมรับข้อตกลง
    แล้ว Click ที่ปุ่มดำเนินการต่อ
    สอนทำบล็อกสำหรับมือใหม่


    ขั้น ที่ 4  การตั้งชื่อเว็บบล็อกสามารถใช้ชื่อที่ชอบได้ตามใจ 
    แต่การกำหนด URL จะต้องไม่ให้ซ้ำกับคนอื่น ๆ ถ้าซ้ำก็ใช้วิธีเปลี่ยนเป็นคำหรือวลีที่ใกล้เคียงไปเรื่อย ๆ
    (การตั้งชื่อและ URL ของบล็อกควรมี keyword ที่สัมพันธ์กับเรื่องที่จะเขียนด้วย)

    สอนแต่ง blogger หรือ blogspot 


    ขั้นที่ 5  ในขั้นสุดท้ายนี้เป็นการเลือกแม่แบบของบล็อก ให้เลือกแม่แบบใดก็ได้ครับ
    เพราะเราจะมาทำการปรับแต่งแม่แบบได้ในภายหลัง ซึ่งผมได้เขียนบทความการเปลี่ยนแม่แบบเอาไว้รอท่านแล้ว
      
    สอนทำบล็อก สอนสร้างบล็อก สอนแต่งบล็อก


    เมื่อจบ 5 ขั้นตอนข้างต้นถือว่าเสร็จสิ้นขั้นตอนการสร้างบล็อกแล้วครับ  (ง่ายดายใช่ไหมครับ)
    วิธีสร้าง 
blogspot  
    ขั้นที่ 6 ในขั้นตอนนี้เป็นการเลือกจัดการกับบล็อกที่สร้างขึ้น
    คุณสามารถเข้าไปจัดการส่วนต่าง ๆ ของบล็อกได้จาก www.blogger.com  หรือ draft.blogger.com 
    ขั้นตอนการสร้าง blogger
    6.1 ถ้าคุณอาจจะเริ่มเขียนบล็อกเลย ให้อ่านข้อแนะนำการเขียนบล็อกจากบทความ วิธีเขียน และจัดการบทความ
    6.2 แต่ถ้าต้องการเปลี่ยนแม่แบบก่อนให้อ่านบทความ วิธี เปลี่ยน Templates ของ Blogger หรืออ่านวิธีออกแบบแม่แบบด้วยตัวเองจากบทความ เครื่อง มือสำหรับออกแบบแม่แบบด้วยตนเอง



    นำ Blog ขึ้นแสดงบนอินเทอร์เน็ต

             หลังจากสร้างเนื้อหาและตกแต่งบล็อกของเราจนเป็นที่พอใจแล้ว สุดท้ายคือการนำบล็อกนี้ขึ้นเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ต หรือเรียกว่าการ Publish เป็นการอัพโหลดหน้าบล็อกของเราไปบนเซิฟเวอร์ผู้ให้บริการ เพื่อให้คนอื่นๆ สามารถเยี่ยมชมบล็อกเราได้

    ให้เราคลิกปุ่ม เผยอพร่หน้าเว็บ   เพื่ออัพโหลดบล็อกของเราขึ้นบนอินเตอร์เน็ต

     




    ชื่อ URL บล็อกเราที่เราตั้งเอาไว้จะแสดงบนแท็ปแอดเดรส

    การปรับปรุง Blog


                   หลักจากนำบล็อกขึ้นแสดงบนอินเทอร์เน็ตเรียบร้อยแล้ว เราสามารถอัพเดท หรือเพิ่มเติมเนื้อหาของเราได้อีกภายหลัง  ซึ่งรวมทั้งการปรับเปลี่ยนรูปแบบของบล็อกได้ด้วย เพื่อให้เนื้อหาบนบล็อกของเราอัพเดทอยู่เสมอ โดยให้เรา login เข้าใช้งาน โดนเราสามารถเลือกเข้าสู่การปรับส่วนต่างๆ ดังนี้
          - บทความใหม่ : ปรับปรุง เพิ่มเติม เนื้อหาภายในบล็อก
          - ออกแบบ : ปรับการจัดวางรูปแบบของบล็อก
                  หน้าออกแบบ จัดวางรูปแบบและเพิ่มลูกเล่นให้กับบล๊อกโดยการเพิ่มแก๊ดเจ็ต
    การทำรายได้จาก Blog
           ซึ่งเว็บไซต์หรือบล็อกที่มีคนเข้ามาชมเป็นจำนวนมากๆ เมื่อเรานำโฆษณามาติดและมีคนคลิกเข้าไปชมมากๆ ก็จะกลายเป็นเงินจำนวนมากมายในบัญชีคุณเช่นกัน โดยเรารับป้ายโฆษณาเหล่านี้ได้จาก
    Google Adsense : 
     บริการติดป้ายโฆษณาจาก Google คลิกที่แถบ "สร้างรายได้" เพื่อทำการกรอกข้อมูลสร้างบัญชี Adsense
    Note: Google Adsense  
    จำเป็นต้องทำการส่งเว็ปไซต์หรือบล็อกของคุณให้ ทาง Google ตรวจสอบก่อนจึงจะได้ป้ายโฆษณามาติด

เรื่อง ท่องโลกทั้งใบไปกับ Google Earth


Google Earth
      Google Earth นับเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของ Google ในการสร้างระบบติดต่อกับผู้ใช้งาน (user interfacing) เพื่ออำนวยความสะดวกในการค้นหาข้อมูลและทำให้การแสดงผลข้อมูลมี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ในครั้งนี้ Google ได้นำเอาภาพถ่ายทางอากาศและภาพถ่ายจากดาวเทียมมาผสมผสานกับเทคโนโลยี streaming และทำการเชื่อมโยงข้อมูลจากฐานข้อมูลของ Google เองเพื่อนำเราไปยังจุดต่าง ๆ ที่ต้องการบนแผนที่โลกดิจิตอล (VMaster, 2549)
ประวัติบริษัทและเว็บไซต์ Google
ช่วงก่อตั้ง  กูเกิล ก่อตั้งโดยแลร์รี่ เพจ และเซียร์เกย์ บริน เริ่มต้นพัฒนามาจากโครงงานวิจัยซึ่งเป็นวิทยานิพนธ์ ในช่วงที่กำลังศึกษาปริญญาเอกอยู่ที่ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด สหรัฐอเมริกา
ในปี
ค.ศ. 1996 โดยใช้ชื่อโครงงานว่า แบ๊กรับ (Backrub) ที่แปลว่า "การเกาหลัง" โดยเน้นเนื้อหาในการค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ต ซึ่งในขณะนั้นมีเว็บไซต์สำหรับค้นหาอยู่มาก แต่ไม่มี
ประสิทธิภาพเท่าที่ควร ทั้งเพจและบรินได้ตัดสินใจทดสอบประสิทธิภาพของระบบการค้นหาของตน โดยจดทะเบียน
โดเมนเนม Google วันที่ 15 กันยายน ค.ศ. 1997 ภายหลังได้ก่อตั้งบริษัทชื่อกูเกิล

ในปี ค.ศ. 1998 ต่อมากูเกิลได้เปิดให้ผู้พัฒนาโปรแกรมคนอื่นสามารถนำโค้ตกูเกิลไปใช้ได้โดยใช้ฐานข้อมูลจากทางกูเกิล ตัวอย่างบริษัทที่ใช้ได้แก่ มูลนิธิมอซิลลา ผู้พัฒนาเบราเซอร์ ไฟร์ฟอกซ์
บริษัท แอปเปิล คอมพิวเตอร์ ผู้พัฒนาเบราว์เซอร์ ซาฟารี
การเปลี่ยนเป็นบริษัทมหาชน
ในปี พ.ศ. 2547 ได้เปลี่ยนเป็นบริษัทมหาชนและเข้าตลาดหุ้นแนสแด็ก (NASDAQ) โดยใช้ดัชนีชื่อ GOOG หุ้นของกูเกิลในช่วงทำ Initial Public Offering (IPO) มีมูลค่าสูงขึ้นมากกว่า 200% ในช่วงปิดตลาดหุ้นของวันแรกที่ได้ประกาศ (เปรียบเทียบกับ ไบดู เสิร์ชเอนจินของประเทศจีน มูลค่าเพิ่มขึ้น 354% ในช่วงปิดตลาดวันแรก วันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2548)
ชื่อ Google
ชื่อ "Google" มาจากคำว่า "googol" ซึ่งหมายถึงจำนวนทางคณิตศาสตร์ที่หมายถึงเลข 1 แล้วตามด้วยเลข 0 อีกหนึ่งร้อยตัว หรือ 10100 เพื่อเป็นการแสดงถึงเป้าหมายของบริษัทที่จะจัดการกับข้อมูลจำนวนมหาศาล อีกกระแสหนึ่งบอกว่าชื่อ Google มาจากความผิดพลาดในการจดโดเมนเนมในช่วงก่อตั้ง ในวันที่
10 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 กูเกิลชนะความในศาล ในคดีที่มีบริษัทอื่นตั้งชื่อใกล้เคียง ได้แก่ googkle.com ghoogle.com และ gooigle.com เพื่อเรียกให้คนอื่นเข้าเว็บไซต์ของตน ทำให้เกิดความเสียหายกับชื่อเสียงของกูเกิล
ระบบของโปรแกรม Google
กู เกิลเก็บข้อมูลเว็บโดยการส่งโปรแกรมเก็บข้อมูลเว็บไซต์ เรียกว่า สไปเดอร์ (spider หรืออีกชื่อคือ web crawler) ซึ่งเป็นโรบอต (robot) ชนิดหนึ่ง สไปเดอร์จะถูกส่งไปตามเว็บไซต์ โดยวิ่งไปตามลิงค์ต่าง ๆ ของแต่ละเว็บไซต์ เพื่อไปยังอีกเว็บไซต์หนึ่ง และเมื่อครบระยะเวลาหนึ่ง
สไปเดอร์จะทำการประมวลผล เพื่อจัดลำดับในการแสดงผลโดยใช้ระบบเฉพาะของทางกูเกิลเอง
ระบบจัดอันดับความเกี่ยวข้องของเว็บเพจแต่ละหน้าของกูเกิลเรียกว่า เพจแรงก์ (PageRank) ได้จด
สิทธิบัตรใน พ.ศ. 2544

ตัวอย่างบริการจากกูเกิล

1. กูเกิลเอิร์ธ ค้นหาภาพถ่ายทางอากาศ
2.
กูเกิลแอนะไลติคส์ บริการเก็บข้อมูลสถิติ
3.
กูเกิลโลคอล บริการค้นหาสถานที่ รวมถึง ร้านอาหาร ธนาคาร ห้างสรรพสินค้า
4.
จีเมล บริการฟรีอีเมลจากกูเกิล
5.
www.google.com กูเกิลเซิร์ชเอนจิน
6.
www.google.co.th กูเกิลประเทศไทย
7.
www.google.com/dirhp ค้นหาข้อมูลตามหมวดหมู่ ข้อมูลจาก DMOZ
8.
images.google.com กูเกิลค้นหารูปภาพ
9.
talk.google.com กูเกิลทอล์ค เมสเซนเจอร์ของกูเกิลโดยใช้จีเมล
10.
google personalized กูเกิลเพอร์ซอนาไลส์
11.
map.google.com กูเกิลแม็พ ค้นหาแผนที่
12.
scholar.google.com กูเกิลสคอลาร์ ค้นหาเอกสารทางวิชาการ
13.
blogsearch.google.com กูเกิลบล็อกเซิร์ช ค้นหาบล็อก
14.
video.google.com กูเกิลค้นหาวีดีโอ

นอก จากนี้กูเกิลกำลังพัฒนาการค้นหาระบบอื่น เช่น การค้นหาวีดีโอไฟล์ และ การค้นหาผ่านข้อความ SMS ผ่านโทรศัพท์มือถือ (วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, 2548)

ความเป็นมา Google Earth

DigitalGlobe ทำงานร่วมกับ Google มาตั้งแต่ พ.ศ.2545 เพื่อนำข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมมาสู่ผู้ใช้ทั่วไปทุกครั้งที่เราเปิดโปรแกรม Google Earth จึงมักจะเห็นข้อความว่า Image © 2005 DigitalGlobeนั่นคือ ภาพถ่ายดาวเทียมส่วนใหญ่ของ Google Earth เป็นภาพที่จัดทำโดย Digital Globe บริษัท DigitalGlobe เกิดขึ้นจากการรวมตัวของผู้ใช้ GIS และผู้ใช้แผนที่ เป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายภาพถ่ายดาวเทียมความละเอียดสูงให้กับผู้ใช้ทั่วไป โดยผ่านทางอินเตอร์เน็ต
www.DigitalGlobe.com ภาพถ่ายดาวเทียมที่บริษัทนี้จัดจำหน่าย มีความละเอียดขนาด 60 ซม. (panchromatic) และ 2.44 เมตร(multispectrum) ซึ่งถือว่ามีความละเอียดสูงที่สุดเท่าที่มีจำหน่ายเชิงพาณิชย์ในปัจจุบัน

สำนัก งานใหญ่ของบริษัทอยู่ที่สหรัฐอเมริกา และมีบริษัท DigitalGlobe Asia อยู่ที่สิงคโปรอีกด้วย ภาพถ่ายได้จากดาวเทียม QuickBird ซึ่งมีความสามารถถ่ายภาพได้ถึงปีละ 70 ล้านตารางกิโลเมตร ดาวเทียมดวงนี้ปล่อยขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันที่ 18 ต.ค. 2544 มีวงโคจรสูงจากพื้นโลก 450 กิโลเมตร ถ่ายภาพได้ครั้งละ 16.5x16.5 กิโลเมตร โคจรหนึ่งรอบถ่ายภาพได้ประมาณ 57 ภาพ
คิดเป็นข้อมูล 128 gigabits ในอนาคตไม่เกินปี 2550 DigitalGlobe มีโครงการส่งดาวเทียม WorldView ขึ้นสู่อวกาศ ซึ่งมีความละเอียดสูงขึ้นอีก (50 ซม. panchromatic และ 2.0 เมตร multispectrum)
เราสามารถเข้าไปดูภาพถ่ายตัวอย่างที่มีจัดจำหน่ายได้โดยเข้าไปในเว็บ
www.DigitalGlobe.com แล้วคลิกที่ImageLibrary ภาพถ่ายเหล่านี้สามารถสั่งซื้อได้จากหน่วยงานที่เป็นตัวแทนจำหน่ายในประเทศ ไทยคือ GISTDA และบริษัท SCITEK KRUNGTHEP CO.,LTD (พุทธพร ส่องศรี, 2549)

ความหมายของ Google Earth

Google Earth เป็นโปรแกรมสำหรับค้นหาพื้นที่ต่างๆ บนโลก โดยภาพที่มองเห็นเป็นภาพจากสัญญาณดาวเทียม ที่ผสมผสานกับเทคโนโลยี streaming และทำการเชื่อมโยงข้อมูลจากฐาน
ข้อมูลของ Google เพื่อนำเราไปยังจุดต่าง ๆ ที่ต้องการบนแผนที่โลกดิจิตอล ที่แสดงพื้นที่จริงบริเวณนั้น ซึ่งเราสามารถซูมเข้าดูรายละเอียด หรือค้นหาตำแหน่งสถานที่สำคัญ เช่น โรงแรมที่พัก สถานีตำรวจ หรือเส้นทางการเดินรถ แผนที่นี้เกิดจากการสะสมภาพถ่ายจากหลาย ๆ แหล่งข้อมูล จากดาวเทียมหลายดวง เพียงแต่นำมาประติดประต่อกันเสมือนกับว่าเป็นผืนเดียวกัน แต่ละจุดจะมีความละเอียดของภาพถ่ายไม่เท่ากัน แต่ด้วยความสามารถในการประมวลผลภาพถ่ายทำให้เราเสมือนกับว่าเป็นพื้นเดียว กัน จากนั้นก็นำเอาข้อมูลอื่น ๆ มาซ้อนทับภาพถ่ายเหล่านี้อีกชั้นหนึ่ง ซึ่งแต่ละชั้น (layer) ก็จะแสดงรายละเอียดต่างเช่น ที่ตั้งโรงพยาบาล สถานีตำรวจ สนามบิน และชั้นของข้อมูลอื่น ๆ อีกมากมาย ทั้งแบบที่ Google จัดเตรียมไว้ให้แล้ว หรือ มีบริษัทอื่น ๆ มาในบริการชั้นข้อมูลเหล่านี้ รวมไปถึงชั้นข้อมูลที่เรากำหนดขึ้นเอง ประโยชน์ที่ได้รับถือว่ามากมายมหาศาล บริการนี้ช่วยให้เราศึกษาข้อมูลก่อนเดินทางได้เป็นอย่างดี ทำให้เราสามารถค้นหาที่ตั้งของโรงแรมที่เราจะเดินทางไปพัก เส้นทางต่าง ๆ ของเมืองที่เราจะเดินทางไป รวมถึงแหล่งข้อมูลอื่น ๆ เช่น สภาพดินฟ้าอากาศแต่ที่สำคัญที่สุดคิดว่าน่าจะเป็นการนำเอา Google Earth มาเป็นสื่อในการเรียนรู้ ในทุก ๆ ระดับการศึกษา รวมไปถึงการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นครั้งแรก ที่ทำให้เราเข้าถึงภาพถ่ายดาวเทียมและภาพถ่ายทางอากาศได้อย่างสะดวกและรวด เร็ว คิดว่าเครื่องมือนี้จะทำให้เราเข้าใจโลกของเราได้มากขึ้น
เครื่อง มือที่อยู่ภายใต้ความสำเร็จนี้คือ XML (Extensible Markup Language) ซึ่งมีการกำหนดคุณสมบัติพิเศษขึ้นมาและเรียกว่า KML (Keyhole Markup Language) Google ใช้ KML นี้ในการสร้างชั้นข้อมูลต่าง ๆ การแสดงข้อมูลทั้ง จุด ลายเส้น หรือรูปหลายเหลี่ยมต่าง ๆ ล้วนสร้างมาจาก KML ทั้งสิ้น เวอร์ชันปัจจุบันเรียกว่า KML 2.0 ส่วนรูปแบบที่จัดเก็บไว้จะเป็นรูปแบบที่ประหยัดพื้นที่เรียกว่า KMZ ซึ่งกับคือ zip format ของ KML นั่นเอง
สำหรับรูปแบบการทำงานของ Google Earth นั้นก็จะเป็นการทำงานแบบ client-server โปรแกรมส่วนที่พวกเราใช้งานจะเรียกว่า Google Earth client ซึ่ง Google ให้เรามาใช้งานฟรี เพื่อดูข้อมูลต่าง ๆ ภายใต้ข้อจำกัดเกี่ยวกับรายละเอียดของภาพ แต่จะว่าไปแล้วก็ไม่ได้ฟรีจริง ๆ นะ เพราะเขาก็จะได้ประโยชน์จากพวกเราในแง่ข้อมูลต่าง ๆ ที่พวกเราเข้าไปค้นหา และสะสมความรู้ที่ได้จากการค้นหาของพวกเราไว้ใช้งานต่อไป
นอกจาก Google จะให้บริการแบบไม่คิดค่าใช้บริการแล้ว ยังมีการให้บริการในรูปแบบอื่นๆ อีกด้วย ซึ่งแต่ละแบบก็จะมีความสามารถที่แตกต่างกัน เช่น สามารถนำข้อมูลจาก GPS receiver มาประกอบข้อมูลของ Google Earth ได้ รวมถึงการให้บริการสร้าง server ของตนเองขึ้นมาโดยการนำข้อมูลมารวมกับแหล่งข้อมูล GIS ของเราเองได้อีกด้วย (VMaster, 2549)

ประเภทของ Google Earth

Google Earth ได้แบ่งบริการออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่ (กิรติ ทิพย์ทินกร, 2548: 115-117)
1. Google Earth เป็นบริการภาพถ่ายจากดาวเทียม สามารถค้นหาสถานที่ต่างๆ เช่น โรงเรียนหรือโรงพยาบาล (ค่อนข้างละเอียดสำหรับประเทศอเมริกา แต่ข้อมูลเรื่องสถานที่ในบ้านเราไม่ค่อนละเอียดสักเท่าไร มีเฉพาะในเมืองใหญ่ๆ) บริการ Google Earth ส่วน นี้มีให้ใช้ฟรี สามารถอัพเกรด เป็น Google Earth Plus ในภายหลังได้
2. Google Earth Plus เป็นบริการสำหรับใช้ในการพาณิชย์หรือเชิงธุรกิจจะมีข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ ที่ละเอียดมากขึ้น สามารถดูภาพในลักษณะ 3 มิติได้ ส่วนนี้จะคิดค่าบริการ 400 เหรียญสหรัฐฯ ต่อปี
3. Google Earth Enterprise Solution สำหรับลูกค้าที่ต้องการบริการที่จำเพาะเจาะจงมากกว่าการใช้งานปกติ แล้วต้องการอาศัย Data Base ของ Google ในการพัฒนา แอพพลิเคชันให้เหมาะสมกับความต้องการ

ความสามารถของโปรแกรม

การ รันโปรแกรมที่จะใช้ในการดูแผนที่ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตรวจสอบว่าซอฟต์แวร์นั้นๆ รองรับกับระบบปฏิบัติการและฮาร์ดแวร์ของเครื่องคอมพิวเตอร์หรือไม่ ซึ่งการที่เราจะใช้งานโปรแกรม Google Earth นี้ จำเป็นอย่างยิ่งว่าจะต้องมีทรัพยากร หรือสเปคของเครื่องที่สูงพอสมควร ลองคลิกเข้าไปดูในเว็บไซต์ ที่ เมนู Get Google Earth จะบอกรายละเอียดของเครื่องของระบบการโดยละเอียดแถมยังบอกว่าการที่จะเล่น Google Earth ให้ได้ดีมีประสิทธิภาพควรจะมีสเปคของเครื่องเท่าไร (ไอ้จุก, 2548: 44-46)

สเปคคอมพิวเตอร์ที่ใช้สเปคต่ำสุดที่รองรับ
- ระบบปฏิบัติการ Windows 2000, Windows XP
- ความเร็วของ CPU speed: Intel Pentium III 500 MHz
- หน่วยความจำ System memory (RAM): 128MB
- ฮาร์ดดิสก์ 200MB hard-disk space
- การ์ดแสดงผลแบบ 3D : 3D-capable video card with 16MB VRAM
- ความละเอียดของจอ 1024x768, 32-bit true color screen
- ความเร็วในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต speed: 128 kbps ("Broadband/Cable Internet")

สเปคที่แนะนำ
- ระบบปฏิบัติการ Windows XP
- ความเร็วของCPU speed: Intel® Pentium® P4 2.4GHz+ หรือ AMD 2400xp+
- หน่วยความจำSystem memory (RAM): 512MB - ฮาร์ดดิสก์ 2GB hard-disk space
- การ์ดแสดงผลแบบ 3D : 3D-capable video card with 32MB VRAM or greater
- ความละเอียดของจอ 1280x1024, 32-bit true color screen
- ความเร็วในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต speed: 128 kbps ("Broadband/Cable Internet")

การใช้งาน Google Earth
วิธีการติดตั้ง

1. ต้องไป DOWNLOAD โปรแกรม GOOGLE EARTH มาก่อนที่ http://earth.google.com/ ---> Downloads ---> Google Earth แล้วจะมีหน้าแบบด้านล่างขึ้นมา ให้กดไปที่ปุ่ม "I'm good. Download GoogleEarth.exe" (ประเภทของโปรแกรม GOOGLE EARTH, ม.ป.ป.)

2. เมื่อ DOWNLOAD เสร็จ ก็ให้ติดตั้ง แล้วจะมี ICON ดังด้านล่าง

3. เปิดโปรแกรม ต่อ Internet แล้วค่อยเปิดโปรแกรม จะเป็นแบบด้านล่างนี้

การใช้งานเบื้องต้น1. ให้ดูที่ MENU ด้านล่างของโปรแกรม จะเป็นแบบนี้

โดยแต่ละปุ่มมีหน้าที่ดังนี้
วงกลมสีแดง คือ มีหน้าที่ ZOOM เข้า หรือ ZOOM ออก (โดย เครื่องหมาย + คือ ZOOM เข้า และ เครื่องหมายลบ คือ ZOOM ออก)
วงกลมสีน้ำเงิน คือ มีหน้าที่เลื่อนภาพไปตามทิศต่างๆ (ใช้ MOUSE ง่ายกว่า)
วงกลมสีน้ำตาล คือ มีหน้าที่หมุนภาพไปทาง ซ้าย - ขวา
วงกลมสีม่วง คือ มีหน้าที่ให้ภาพวางตัวในแนวทิศเหนือ
วงกลมสีขาว คือ ปุ่ม RESET
วงกลมสีเขียว คือ มีหน้าที่ปรับมุมของภาพ
สี่เหลี่ยมสีแดง คือ มีหน้าที่ปักหมุดสถานที่ต่างๆที่เราต้องการ
สี่เหลี่ยมสีน้ำเงิน คือ PRINT ภาพที่เราต้องการ
สี่เหลี่ยมสีเขียว คือ ส่งภาพไปทาง E-MAIL

2. ที่นี้จะไปตรงไหนของโลกก็ใช้ MOUSE เลือกเอาเลยครับ แล้วต้องการดูตรงไหนก็เลือก ZOOM ตรงจุดนั้น

3. โดย ZOOM ได้ถึงเห็นคน เห็นรถวิ่งเลย แต่บางจุดแค่หลังคาบ้านก็ไม่เห็นแล้ว (ตรง AMERICA เห็นชัดที่สุด)

ภาพจากประเทศอเมริกา (เห็นรถ และคนอย่างชัดเจน)

4. ประเทศไทย เห็นได้ค่อนข้างชัด โดยเฉพาะกรุงเทพ และละแวกข้างเคียง

ภาพจากกรุงเทพ ตรงแถวๆสะพานพระราม 8 ก็เห็นได้ชัดเจนทีเดียว

5. หมู่บ้านแถวจังหวัดนนทบุรี

การใส่ตำแหน่งของเมืองหรือประเทศแล้วให้ไปที่จุดนั้น1. คลิก Fly To ในแถบด้านซ้ายคลิกชื่อประเทศที่ต้องการ แล้วก็กด SEARCH

2. จะได้ภาพประเทศจีนซึ่งถ้า ZOOM ได้เลย

โดยในภาพด้านล่างจะเป็นที่ เมืองต้องห้าม อยู่ตรงข้ามกับจตุรัสเทียนอันเหมิน
การ SAVE รูปภาพที่ต้องการ
ไปที่ File ---> Save Image แล้วจะมีหน้าต่างให้เลือกว่าจะ SAVE ที่ไหนขึ้นมา

การปักหมุดสถานที่ที่ต้องการ
1. ไปคลิ๊กที่ รูปหมุดใน MENU ล่างด้านซ้าย แล้วเลือกไปที่ Placemark


2. แล้วจะมีหมุด และหน้าต่าง ขึ้นมา ให้เราลากหมุดไปยังตำแหน่งที่ต้องการ

3. แล้วใส่ชื่อที่ต้องการลงไป แล้วกด OK


4. แล้วในตำแหน่งที่เราปักหมุด ก็จะมีหมุดแสดงอยู่ด้วย


การไปยังสถานที่ ที่เราเคยปักหมุดไว้
ก็ ให้ DOUBLE CLICK ไปยัง ICON หมุด ที่อยู่หน้าชื่อสถานที่ต่างๆ ที่อยู่ใน MENU Places ด้านซ้ายเพียงเท่านี้โปรแกรมก็จะพาไปยังตำแหน่งที่ปักหมุดไว้ได้




ประโยชน์ ในการประยุกต์ใช้ Google Earth ในด้านต่างๆ

การให้บริการ Google Earth ทำให้เกิดการให้บริการทางด้านต่างๆมากมาย เช่น
1. การทหารและการป้องกันประเทศ
2. นักธรณีวิทยา ใช้สำรวจทรัพยากรธรรมชาติ เขตพื้นที่ป่าถูกทำลาย
3. กรมพัฒนาที่ดิน การสำรวจหาพื้นที่พัฒนาที่ดิน
4. ด้านสถาปัตยกรรม และการก่อสร้างแสดงรูปแบบของโครงการในรูปแบบของ โมเดลของโครงการที่จะสร้างขึ้นมาว่า มีลักษณะเป็นอย่างไรเมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จ
5. ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ หรือพวกนายหน้าค้าที่ดิน ใช้อ้างอิงที่ดิน นำข้อมูลได้ในมี
การ แสดงภาพการพัฒนาที่ดิน ทำให้ผู้เกี่ยวข้อง ตั้งแต่แหล่งเงินของโครงการ ไปจนถึงผู้ซื้อ สามารถมองเห็นรูปแบบของโครงการได้อย่างชัดเจน ทำให้การประเมินศักยภาพของโครงการเป็นไปด้วยความสะดวกการวางแผนการจัดการ เกี่ยวกับผู้อยู่อาศัยก็สามารถ เห็นภาพได้อย่างชัดเจน
6. ธุรกิจค้าปลีกย่อย หาที่ตั้งทำเลในการทำธุรกิจ
7. ครูภูมิศาสตร์ สามารถใช้แผนที่ในการประกอบการเรียนการสอน
8. นักท่องเที่ยว รู้เรื่องเส้นทางและข้อมูลเรื่องอาหาร ที่พัก ที่เที่ยว
9. และบุคคลที่สนใจทั่วไป ไม่ว่าจะศึกษาทางด้านภูมิศาสตร์ ใช้สำรวจพื้นที่

ข้อเสียของ Google Earth

1. มีลักษณะคล้ายกับการโจรกรรมทางทหาร หรือ อาจจะเรียกว่า ดาวเทียมโจรกรรม
เป็นการขโมยข้อมูล
2. ภาพถ่ายดาวเทียมอาจจะไปบันทึกภาพสิทธิส่วนบุคคล เช่น ภายในรั้วบ้านที่มีสระน้ำ
3. จะต้องใช้คอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วสูง

เรื่อง วิกิพีเดีย สารานุกรมออนไลน์



       วิกิพีเดีย (อังกฤษ: Wikipedia) เป็นสารานุกรมเนื้อหาเสรีหลายภาษาบนเว็บไซต์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิวิกิมีเดีย องค์กรไม่แสวงผลกำไร เนื้อหากว่า 26 ล้านบทความ (เฉพาะวิกิพีเดียภาษาอังกฤษมี เนื้อหากว่า 4.2 ล้านบทความ) เกิดขึ้นจากการร่วมเขียนของอาสาสมัครทั่วโลก ทุกคนที่สามารถเข้าถึงวิกิพีเดียสามารถร่วมแก้ไขได้แทบทุกบทความได้อย่าง เสรี โดยมีผู้เขียนประจำราว 100,000 คน[1] จนถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2556 วิกิพีเดียมี 286 รุ่นภาษา และได้กลายมาเป็นงานอ้างอิงทั่วไปที่ใหญ่ที่สุดและได้รับความนิยมมากที่สุดบนอินเทอร์เน็ต[2][3] จนถูกจัดเป็นเว็บที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดในโลกอันดับที่ 6 ตามการจัดอันดับของอเล็กซา ด้วยจำนวนผู้อ่านกว่า 365 ล้านคน[2][4] มีการประเมินว่าวิกิพีเดียมีการเรียกดูหน้าถึง 2,700 ล้านครั้งต่อเดือนในสหรัฐอเมริกาประเทศเดียว[5]
วิกิพีเดียเปิดตัวในปี พ.ศ. 2544 โดย จิมมี เวลส์และแลร์รี แซงเจอร์[6] คำว่า "วิกิพีเดีย" เป็นคำที่ประดิษฐ์ขึ้นโดยแลร์รี แซงเจอร์ มาจากการผสมคำว่า "วิกิ" (wiki) ซึ่งเป็นลักษณะของการสร้างเว็บไซต์ที่แบบมีส่วนร่วม เป็นคำในภาษาฮาวายที่แปลว่า "เร็ว" และคำว่า "เอนไซโคลพีเดีย" (encyclopedia) ที่แปลว่าสารานุกรม
มีการกล่าวถึงวิกิพีเดียอยู่บ่อยครั้ง ในแง่ความแตกต่างกับรูปแบบการจัดทำสารานุกรมแบบเก่าที่มีเฉพาะผู้เชี่ยวชาญ เป็นผู้จัดทำขึ้น และการรวบรวมเนื้อหาที่ไม่เป็นวิชาการไว้เป็นจำนวนมาก ครั้งเมื่อนิตยสารไทม์จัดให้ "คุณ" (You) เป็นบุคคลแห่งปี พ.ศ. 2549 อันเป็นการยอมรับความสำเร็จที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจากความร่วมมือและปฏิ สัมพันธ์ออนไลน์ของผู้ใช้หลายล้านคนทั่วโลก ก็ได้อ้างถึงวิกิพีเดียว่าเป็นตัวอย่างหนึ่งของบริการเว็บ 2.0 เช่นเดียวกับยูทูบ มายสเปซ และเฟซบุ๊ก[7] บางคนลงความเห็นว่าวิกิพีเดียมิได้มีความสำคัญเป็นเพียงสารานุกรมอ้างอิง เท่านั้น แต่ยังเป็นแหล่งข่าวที่อัปเดตอย่างรวดเร็วอีกด้วย เพราะมักพบเหตุการณ์ปัจจุบันถูกสร้างเป็นบทความในวิกิพีเดียอย่างรวดเร็ว[8][9] นักเรียนนักศึกษายังได้รับคำสั่งให้เขียนบทความวิกิพีเดียเพื่อฝึกอธิบายแนว คิดที่เข้าใจยากให้ผู้อ่านที่ไม่เคยศึกษามาก่อนเข้าใจได้ชัดเจนและรัดกุม[10]
แม้ว่าวิกิพีเดียจะมีนโยบายอย่างการพิสูจน์ยืนยันได้ของข้อมูลและมุมมองที่เป็นกลาง แต่ก็ยังถูกวิพากษ์วิจารณ์อยู่เสมอ ทั้งในด้านความลำเอียงอย่างเป็นระบบและความไม่สอดคล้องกันของบทความ อีกทั้งการให้น้ำหนักแก่วัฒนธรรมสมัยนิยมมากเกินไปจนไม่เหมาะสม[11] และระบุว่า วิกิพีเดียมักใช้กระบวนการมติเอกฉันท์ในการปรับปรุง[12] ความน่าเชื่อถือและความถูกต้องของข้อมูลก็ตกเป็นเป้าวิพากษ์วิจารณ์อย่างต่อเนื่อง[13] นอกจากนี้ การวิจารณ์อื่นยังมุ่งประเด็นไปยังการก่อกวนและการเพิ่มข้อมูลที่หลอกลวงหรือไม่สามารถพิสูจน์ได้[14] ถึงกระนั้นก็ตาม ผลงานวิชาการเสนอว่าการก่อกวนในวิกิพีเดียเกิดขึ้นในเวลาสั้น ๆ เท่านั้น[15][16] และจากการวิจัยของวารสารเนเจอร์ในปี พ.ศ. 2548 พบว่า บทความวิทยาศาสตร์จากวิกิพีเดียที่นำมาเปรียบเทียบนั้นมีระดับความถูกต้อง ใกล้เคียงกับสารานุกรมบริตานิกา และทั้งสองมีอัตรา "ข้อผิดพลาดร้ายแรง" ใกล้เคียงกัน[17]
วิกิพีเดียทำงานด้วยซอฟต์แวร์ชื่อมีเดียวิกิ และจัดเก็บในเซิร์ฟเวอร์สามแห่งทั่วโลก โดยมีเซิร์ฟเวอร์ใหญ่อยู่ที่รัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา และเซิร์ฟเวอร์ย่อยตั้งอยู่ที่อัมสเตอร์ดัม เนเธอร์แลนด์ และโซล เกาหลีใต้ ในขณะที่มูลนิธิสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย[18]


วิกิพีเดีย (อังกฤษ: Wikipedia) เป็นสารานุกรมเนื้อหาเสรีหลายภาษาบนเว็บไซต์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิวิกิมีเดีย องค์กรไม่แสวงผลกำไร เนื้อหากว่า 26 ล้านบทความ (เฉพาะวิกิพีเดียภาษาอังกฤษมี เนื้อหากว่า 4.2 ล้านบทความ) เกิดขึ้นจากการร่วมเขียนของอาสาสมัครทั่วโลก ทุกคนที่สามารถเข้าถึงวิกิพีเดียสามารถร่วมแก้ไขได้แทบทุกบทความได้อย่าง เสรี โดยมีผู้เขียนประจำราว 100,000 คน[1] จนถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2556 วิกิพีเดียมี 286 รุ่นภาษา และได้กลายมาเป็นงานอ้างอิงทั่วไปที่ใหญ่ที่สุดและได้รับความนิยมมากที่สุดบนอินเทอร์เน็ต[2][3] จนถูกจัดเป็นเว็บที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดในโลกอันดับที่ 6 ตามการจัดอันดับของอเล็กซา ด้วยจำนวนผู้อ่านกว่า 365 ล้านคน[2][4] มีการประเมินว่าวิกิพีเดียมีการเรียกดูหน้าถึง 2,700 ล้านครั้งต่อเดือนในสหรัฐอเมริกาประเทศเดียว[5]
วิกิพีเดียเปิดตัวในปี พ.ศ. 2544 โดย จิมมี เวลส์และแลร์รี แซงเจอร์[6] คำว่า "วิกิพีเดีย" เป็นคำที่ประดิษฐ์ขึ้นโดยแลร์รี แซงเจอร์ มาจากการผสมคำว่า "วิกิ" (wiki) ซึ่งเป็นลักษณะของการสร้างเว็บไซต์ที่แบบมีส่วนร่วม เป็นคำในภาษาฮาวายที่แปลว่า "เร็ว" และคำว่า "เอนไซโคลพีเดีย" (encyclopedia) ที่แปลว่าสารานุกรม
มีการกล่าวถึงวิกิพีเดียอยู่บ่อยครั้ง ในแง่ความแตกต่างกับรูปแบบการจัดทำสารานุกรมแบบเก่าที่มีเฉพาะผู้เชี่ยวชาญ เป็นผู้จัดทำขึ้น และการรวบรวมเนื้อหาที่ไม่เป็นวิชาการไว้เป็นจำนวนมาก ครั้งเมื่อนิตยสารไทม์จัดให้ "คุณ" (You) เป็นบุคคลแห่งปี พ.ศ. 2549 อันเป็นการยอมรับความสำเร็จที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจากความร่วมมือและปฏิ สัมพันธ์ออนไลน์ของผู้ใช้หลายล้านคนทั่วโลก ก็ได้อ้างถึงวิกิพีเดียว่าเป็นตัวอย่างหนึ่งของบริการเว็บ 2.0 เช่นเดียวกับยูทูบ มายสเปซ และเฟซบุ๊ก[7] บางคนลงความเห็นว่าวิกิพีเดียมิได้มีความสำคัญเป็นเพียงสารานุกรมอ้างอิง เท่านั้น แต่ยังเป็นแหล่งข่าวที่อัปเดตอย่างรวดเร็วอีกด้วย เพราะมักพบเหตุการณ์ปัจจุบันถูกสร้างเป็นบทความในวิกิพีเดียอย่างรวดเร็ว[8][9] นักเรียนนักศึกษายังได้รับคำสั่งให้เขียนบทความวิกิพีเดียเพื่อฝึกอธิบายแนว คิดที่เข้าใจยากให้ผู้อ่านที่ไม่เคยศึกษามาก่อนเข้าใจได้ชัดเจนและรัดกุม[10]
แม้ว่าวิกิพีเดียจะมีนโยบายอย่างการพิสูจน์ยืนยันได้ของข้อมูลและมุมมองที่เป็นกลาง แต่ก็ยังถูกวิพากษ์วิจารณ์อยู่เสมอ ทั้งในด้านความลำเอียงอย่างเป็นระบบและความไม่สอดคล้องกันของบทความ อีกทั้งการให้น้ำหนักแก่วัฒนธรรมสมัยนิยมมากเกินไปจนไม่เหมาะสม[11] และระบุว่า วิกิพีเดียมักใช้กระบวนการมติเอกฉันท์ในการปรับปรุง[12] ความน่าเชื่อถือและความถูกต้องของข้อมูลก็ตกเป็นเป้าวิพากษ์วิจารณ์อย่างต่อเนื่อง[13] นอกจากนี้ การวิจารณ์อื่นยังมุ่งประเด็นไปยังการก่อกวนและการเพิ่มข้อมูลที่หลอกลวงหรือไม่สามารถพิสูจน์ได้[14] ถึงกระนั้นก็ตาม ผลงานวิชาการเสนอว่าการก่อกวนในวิกิพีเดียเกิดขึ้นในเวลาสั้น ๆ เท่านั้น[15][16] และจากการวิจัยของวารสารเนเจอร์ในปี พ.ศ. 2548 พบว่า บทความวิทยาศาสตร์จากวิกิพีเดียที่นำมาเปรียบเทียบนั้นมีระดับความถูกต้อง ใกล้เคียงกับสารานุกรมบริตานิกา และทั้งสองมีอัตรา "ข้อผิดพลาดร้ายแรง" ใกล้เคียงกัน[17]
วิกิพีเดียทำงานด้วยซอฟต์แวร์ชื่อมีเดียวิกิ และจัดเก็บในเซิร์ฟเวอร์สามแห่งทั่วโลก โดยมีเซิร์ฟเวอร์ใหญ่อยู่ที่รัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา และเซิร์ฟเวอร์ย่อยตั้งอยู่ที่อัมสเตอร์ดัม เนเธอร์แลนด์ และโซล เกาหลีใต้ ในขณะที่มูลนิธิสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย[18]
วิกิพีเดีย

                  กด แก้ไข เพื่อแก้ไขบทความ
วิกิพีเดียเป็นสารานุกรมเสรี ซึ่งผู้ที่ใช้วิกิพีเดียร่วมกันเขียน วิกิพีเดียเป็นเว็บไซต์พิเศษที่ออกแบบมาให้การร่วมมือเป็นไปโดยง่าย ที่เรียกว่า วิกิ คนจำนวนมากพัฒนาวิกิพีเดียสม่ำเสมอ การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดถูกบันทึกไว้ในประวัติหน้าและหน้าปรับปรุงล่าสุด สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการ ดูที่ เกี่ยวกับวิกิพีเดีย


วิกิพีเดียประเทศไทย

ประเทศไทย หรือชื่อทางการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่บนคาบสมุทรอินโดจีนและมลายู ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนด้านตะวันออกติดประเทศลาวและประเทศกัมพูชา ทิศใต้เป็นแดนต่อแดนประเทศมาเลเซียและอ่าวไทย ทิศตะวันตกติดทะเลอันดามันและประเทศพม่า และทิศเหนือติดประเทศพม่าและลาว มีแม่น้ำโขงกั้นเป็นบางช่วง ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบมีรัฐสภา มีศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินอยู่ที่กรุงเทพมหานคร และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด[ก] ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร[7] และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน[8] กับทั้งยังเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่[9][10][11][12] โดยมีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและการบริการ[13] ไทยมีแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงเป็นอันมาก อาทิ พัทยา, ภูเก็ต, กรุงเทพมหานคร และเชียงใหม่ ซึ่งสร้างรายได้ให้แก่ประเทศ เช่นเดียวกับการส่งออกอันมีส่วนสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ[14] และด้วยจีดีพีของประเทศ ซึ่งมีมูลค่าราว 334,026 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามที่ประมาณใน พ.ศ. 2553 เศรษฐกิจของประเทศไทยนับว่าใหญ่เป็นอันดับที่ 30 ของโลก
ในอาณาเขตประเทศไทย พบหลักฐานของมนุษย์ซึ่งมีอายุเก่าแก่ที่สุดถึงห้าแสนปี[15] นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งต่อมาตกอยู่ในอิทธิพลของอาณาจักรอยุธยา อันมีความยิ่งใหญ่กว่า และมีการติดต่อกับชาติตะวันตก อาณาจักรอยุธยามีอายุยืนยาว 417 ปีก็เสื่อมอำนาจและล่มสลายไปโดยสิ้นเชิง สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงกอบกู้เอกราชและสถาปนาอาณาจักรธนบุรี เหตุการณ์ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักร นำไปสู่ยุคสมัยของราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ช่วงต้นกรุง ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาหลายฉบับ และการเสียดินแดนบางส่วน กระนั้น ไทยก็ยังธำรงตนมิได้เป็นอาณานิคมของชาติใด ๆ ต่อมาจนช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ไทยได้เข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร และในปี พ.ศ. 2475 ได้มีการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นประชาธิปไตย และไทยได้เข้ากับฝ่ายอักษะในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง จนช่วงสงครามเย็น ไทยได้ดำเนินนโยบายเป็นพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกา ทหารเข้ามามีบทบาทในการเมืองไทยอย่างมากหลังปฏิวัติสยามอยู่หลายสิบปี กระทั่งมีการตั้งรัฐบาลพลเรือน และเข้าสู่ยุคโลกเสรีในปัจจุบัน